วิธีเติม หัวเชื้อจุลินทรีย์ ถังบำบัดน้ำเสีย

วิธีเติม หัวเชื้อจุลินทรีย์ ถังบำบัดน้ำเสีย

วิธีเติม หัวเชื้อจุลินทรีย์ ถังบำบัดน้ำเสีย ทำหน้าที่ย่อยสลายของเสีย จากการขับถ่าย ของผู้คนในชีวิตประจำวัน แต่จะไม่เหมาะกับ การนำไปใช้งานเพื่อ ย่อยสลายน้ำเสียจาก ถังดักไขมัน เพราะ ไขมันจำเป็นต้องใช้ เอนไซม์ประเภท ย่อยไขมันโดยเฉพาะ เป็นแบบน้ำ แต่จุลินทรีย์ที่ใช้ตามบ้าน ออฟฟิศ จะเป็นแบบผง

 

วิธีเติม หัวเชื้อจุลินทรีย์ ถังบำบัดน้ำเสีย ใช้งานแบบไหน

  • เติมก่อนมีน้ำเสีย จากการขับถ่าย 5-7 วัน เพื่อให้จุลินทรีย์ ได้มีเวลาเจริญเติบโต
  • เทใส่ลงใน ช่องที่มี ลูกมีเดีย สีดำ หรือที่บางคนเรียกว่า ลูกตะกร้อมีเดีย (Media Palling)
  • แต่หากเป็น จุลินทรีย์ที่เรียกว่า เอนไซม์ ที่ต้องนำไปใช้ ย่อยสลายไขมัน ก็ให้เติมเอนไซม์ใส่ลง ถังน้ำสีขาวขุ่น เพื่อใช้ปั๊มฟีดไปลง ถังบำบัดเติมอากาศ

ข้อควรระวังสำหรับ หัวเชื้อจุลินทรีย์ ถังบำบัดน้ำเสีย

  • อย่าเพิ่งเติม หัวเชื้อจุลินทรีย์(Seed Septic Tank) ไปก่อนหาก น้ำเสียของโครงการ จะผ่านเข้าไปในถังอีก 1 เดือน เพราะจะทำให้ จุลินทรีย์ขาดอาหาร เพื่อดำรงชชีวิตอยู่
  • ระวังน้ำยา ล้างห้องน้ำที่เป็น กรด กัดกรอน คราบสกปรก ให้หลุดจากยาแนว เพราะน้ำยาที่มี ฤทธิ์แรงมาก ขนาดนั้นจะทำให้ หัวเชื้อจุลิทรีย์ ทยอยตายลง
  • ระวังอย่าเติม จุลินทรีย์มากเกินไป เพราะ จุลินทรีย์ก็เป็นของเสียชนิดนึง ถ้าเติมมากเกินกว่าที่กำหนด อาจทำให้ค่าน้ำเสีย บางตัวสูงขึ้นมา เช่น ค่าBod

วิธีเลือกใช้ หัวเชื้อจุลินทรีย์ ให้เหมาะสมกับขนาดถังบำบัด

  • ถังบำบัดน้ำเสีย ขนาดความจุ 600 ลิตร ,800 ลิตร ,1000 ลิตร ,1600 ลิตร ,2000 ลิตร ใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ 1 กิโลกรัม
  • ถังบำบัดน้ำเสีย ขนาดความจุ 3000 ลิตร ,4000 ลิตร ใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ 2 กิโลกรัม
  • ถังบำบัดน้ำเสีย ขนาดความจุ 5000 ลิตร ,6000 ลิตร ใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ 3 กิโลกรัม
  • ถังบำบัดน้ำเสีย ขนาดความจุ 7000 ลิตร ,8000 ลิตร ใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ 4 กิโลกรัม
  • ถังบำบัดน้ำเสีย ขนาดความจุ 8000 ลิตร ,9000 ลิตร ใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ 5 กิโลกรัม
  • ถังบำบัดน้ำเสีย ขนาดความจุ 10000 ลิตร ,12000 ลิตร ใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ 6 กิโลกรัม

สาเหตุที่ทำให้ หัวเชื้อจุลินทรีย์ตาย

  • น้ำยาล้างห้องน้ำ ที่ขจัดคราบสกปรก ออกทันที จะเป็นสาเหตุให้ จุลินทรีย์ตาย ต้องเติมเพิ่มบ้าง
  • หัวเชื้อจุลินทรีย์ถูกดูด ออกจากถังบำบัด โดยรถเทศบาล เพื่อลดตะกอนสกปรกในถัง หัวเชื้อจึงถูกดูดออกไปพร้อมกับน้ำเสีย
  • อาจมีสารเคมีที่แรง ทำให้จุลินทรีย์มีปริมาณลดลง หัวเชื้อประเภทนี้ เหมาะกับการใช้งาน สำหรับน้ำเสีย ประเภท ขับถ่าย

วิธีสังเกตประเภทของ จุลินทรีย์ ว่าเหมาะสมกับการใช้งานรูปแบบใด

โดยให้ปรึกษา บริษัทผู้ขายเพื่อขอคำแนะนำ ในการใช้งานให้ถูกประเภท เพราะ ไม่เช่นนั้นแล้วจะเสีย ค่าใช้จ่ายโดยสิ้นเปลือง และ ไม่ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะ จุลินทรีย์ สำหรับใช้งานส่วนมาก สามารถใช้งานกับ คอนโด โรงแรม บ้านพักอาศัย และ ออฟฟิศ ได้

แต่หากต้องการ จุลินทรีย์ประเภท ย่อยน้ำเสียจาก ถังดักไขมัน โดยเฉพาะเพื่อนำไป ลดค่าน้ำเสียประเภท ค่า Oil & Grease แนะนำให้ใช้ เอนไซม์ เป็นจุลินทรีย์ย่อยสลายไขมัน เหมาะกับ โรงอาหาร ร้านกาแฟ

โดยมีวิธีการใช้งาน คือ ให้เท เอนไซม์น้ำลงใน ถังบำบัดน้ำเสีย ที่มีช่องเติมอากาศ เพราะ ปั๊มจะช่วยกวนหัวเชื้อเอนไซม์ ให้ทั่วในถัง จะทำให้กินของเสียได้ดี

วิธีดูแลรักษา หัวเชื้อจุลินทรีย์ ให้เจริญเติบโตใน ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป

เมื่อมีการใช้งาน ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป เป็นระยะเวลา 6 เดือน ถึง 1 ปี ให้เปิดฝาถัง ดูตะกอนที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ หากมีความหนา ให้จ้างรถเทศบาลมาดูดไปกำจัดทิ้ง แต่ดูดน้ำเสียเพียง 1/4 หรือ เอาน้ำออกแค่ 25% จาก 100% เพื่อต้องการให้น้ำบรรจุเกือบเต็มถังเพื่อป้องกันทรายรอบถังบีบอัดเข้ามาทำให้ถังแตกร้าวรั่วซึมได้หลังจากนั้นก็เติมน้ำสะอาดกลับเข้าสู่ถังพร้อมกับเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ในปริมาณที่เหมาะสมกับขนาดถังเท่านั้นเป็นอันเสร็จเรียบร้อย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *